วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17
วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 08:30 -12:30 น.

ความรู้ที่ได้รับ 
  • PECS = โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร
  • โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล ภาษาอังกฤษคือ Individualized Education Program ตัวย่อคือ IEP 
  • แผน IEP แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอนและการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
  • การเขียนแผน IEP คัดแยกเด็กพิเศษ ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหนในทักษะใด เด็กสามารถทำอะไรได้ เด็กไม่สามารถทำอะไรไม่ได้แล้วจึงเขียนแผน
  • IEP ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการเศษอะไรบ้าง การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน เป้าหมายระยะยาวประจำปี ระยะสั้น ระบุวันเดือนปีที่เริ่มทำการสอนและคาดคะเนการสิ้นสุดของแผนวิธีการประเมินผล
  • ประโยชน์ต่อเด็ก ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมถ้าเด็กเข้าเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
  • ประโยชน์ต่อครู เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไปเป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก ตรวจสอบประเมินได้เป็นระยะ
  • ปรพโยชน์ต่อผู้ปกครอง ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคลเพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกอย่างไร เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็กมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
  • ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคล 
  • การกำหนดจุดมุ่งมา ระยะยาว ระยะสั้น
  1. การรวบรวมข้อมูล >> รายงานทางการแพทย์ รายงานการประเมินด้านต่างๆ บันทึกจากผู้ปกครอง 
  2. การจัดทำแผน >> ประชุมผู็เกี่ยวข้องกำหนดจุดหมายโปรแกรมกิจกรรม ต้องได้รับการรับรองแผน
  3. การใช้แผน >> ครูใช้แผนระยพสั้น จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม แยะย่อยข้อนตอนให้เหมาะจัดเตนียมสื่อ สังเกตและรวมข้อมุล ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ ตัวชี้วัดพื้อฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็กอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
  4. การประเมินผล >> จะประเมินภาคเรียนละครั้งหรือย่อยกว่านั้น กำหนดวิธีการและเกณฑ์วัด การประเมินทักษะอาจจะใช้วิธีและเกณฑ์ที่ต้องกัน

>>>>>>>>>>>>><<<<<<<<<<<<<




อาจารย์จำลองสถานการ การเข้าหาเด็กพิเศษ

💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛

การนำมาประยุกต์ใช้
ได้รู้จักการเขียนแผน IEP รู้ถึงความหมาย  ทำให้ในอนาคตเราอาจจะทำแผน IEP ขึ้นมาเพื่อสอนเด็กพิเศษของเราได้ รู้วิธีการทำงานเข้าหาเด็กพิเศษ เราจะได้เข้าหาเด็กได้อย่าถูกวิธี

การประเมิน

ประเมินตนเอง >> ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกในการเรียน
ประเมินเพื่อน >> เพื่อนตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ >> อาจารย์เตรียมการสอนเป็นอย่างดี มีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และการแสดงตัวอย่างให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ในเนื้อหาและสถานการต่างๆ

...............................................................................

E      N        D


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16


วันศุกร์ ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา  08:30 - 12:30 น. 

ไม่มีการเรียนการสอน 

E      N      D

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15


วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 08:30 - 12:30 น. 

ไม่มีการเรียนการสอน

END

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


วันศุกร์ ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 08:30 - 12:30 น.
...........ไม่มีการเรียนการสอน............

E       N       D

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วันศุกร์ ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 08:30 -12:30 น.

....................ไม่มีการเรียนการสอน...................

E     N     D

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 08:30 - 12:30 น.

ประกาศคะแนนสอบ

ความรู้ที่ได้รับ
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  • การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ : เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
  1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา : เพิ่มทักษะพื้อฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด เกิดผลดีในระยะยาว เน้นการเตียมพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือภาษาอังกฤษคือ Individualized Education Program ตัวย่อคือ IEP 
  2. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม : การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน การสอนทักษะทางสังคม  การสอนเรื่องราวทางสังคม
  3. การบำบัดทางเลือก การสื่อความหมายทดแทน ศิลปกรรมบำบัด ดนตรีบำบัด การฝังเข็ม การบำบัดด้วยสัตว์ 
  • การสื่อความหมายทดแทน ภาษาอังกฤษคือ Augmentative and Alternative Communication ตัวย่อคือ AAC การรับรู้ผ่านการมอง โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร เครื่อโอภา โปรแกรมปราศรัย

  • บทบาทของครู :  ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
  • การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
  1. ทักษะทางสังคม เด็ฏพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่ การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข กิจกรรมการเล่น การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อดารเรียนรู้ทักษะทางสังคม เด็กสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง ยุทธศาสตร์การสอน เด็กพิเศษหาลยๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร ครูเริ่มต้นจาการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบจะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง ครูจดบันทึก ทำแผน IEP การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่างคำนึงถึงเด็กทุกๆคน ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครู ให้เด็กพิเศษ ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น อยู่ใกล้ไ และเฝ้ามองอย่างสนใจ ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมากาครู ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากจนเกินไป เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่มเพื่อยืดเวลาการเล่นให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน ทำโดยการพูดนำของครู ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์ ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ การให้โอกาสเด็ก เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
  2. ทักษะทางภาษา  การวัดความสามารถทางภาษา เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหมถามหาสิ่งต่างๆไหม บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด การพูดตกหล่น การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง ติดอ่าง การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่ ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด ห้ามบอกเด็กว่า พูดช้าๆ ตามสบาย คิดก่อนพูด อย่างขัดจังหวะขณะเด็กพูด อย่างเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก ไม่เปรียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการไดยิน ทักษะพื้นฐานทางภาษา  ทักษะการรับรู้ภาษา การแสดงออกทางภาษา การส่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย การับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา ภาษที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด ให้เวลาเด็กได้พูด คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น) เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่ควรพูดมากจนเกิดไป)เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว ให้เด็กจับกลุ่มเด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อนๆ กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด ใช้คำถามปลายเปิด เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น ร่วมกิจกรรมกับเด็ก และ สอนตามเหตุการณ์
  3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เรียนรู้การดำรงชีวิตการทำกิจวัตณต่างๆในชีวิตประจำวัน การสร้างความอิสระ เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง อยากทำงานตามความสามารถ เด็กเลียนแบบจากผู้อื่น ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ การได้ทำด้วยตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี หัดให้เด็กทำเอง ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น จะช่วยเมื่อไหร่ เมื่อเด็กหงุดหงิด หลายครั้งเด็ขอความช่วยเหลือ ช่วยในกิจกรรม




  • ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อย เรียงลำดับตามขั้นตอน 



4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน เป้าหมาย การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ มีความรู้สึกดีตนเอง เด็กรู้สกว่าฉันทำได้ พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น แยากสำรวจอยากทดลอง ช่วงความสนใจ ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ จดต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร การเลียนแบบ การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่ เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่ คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่ ความจำ จากการสนทนาการ เมื่อเช้าหนูทานอะไร แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง จำตัวละครในนิทานจำชื่อครูเพื่อน เล่นเกมทายของที่หายไป การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ  จดกลุ่มเด็กเริ่มต้นเรียนรู้โยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนจ้องทำที่ไหน ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุดรุ้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือเตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง พูดทางที่ดี จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว ทำบทเียนให้สนุก



....................................................................................








กิจกรรมวาดมือของฉัน  จากนั้นให้ตามหามือว่าเป็นมือของใคร

.........................................................................

การประยุกต์ใช้

รู้จักกิจกรรมและวิธีการสอนหรือพัฒนาเด็กพิเศษ วิธีการช่วยเหลือ การเลืกอุปกรณ์ที่ใช้กับเด็ก นำไปใช้ในอนาคตได้หรือไม่ก็ เมื่อมีคนมาขอคำปรึกษาก็สามารถให้ในขั้นเบื้องต้นได้

การประเมิน

ประเมินตนเอง >> ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมในห้องเรียน
ประเมินเพื่อน >> เพื่อนๆตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ >>   อาจารย์เตรียมการเรียนการสอนมาเป็นอย่างดีรวมถึงกิจกรรม มีการเฉลยคำถามข้อสอบที่นักศึกษาตอบไม่ได้มีการเช็กคำตอบทำให้ได้ความรู้เพิ่ม


E        N         D   


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11 
วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 08:30-12:30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

  • มีการสอบกลางภาค
  • การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
รูปแบบการจัดการศึกษา 
- การศึกษาปกติทั่วไป 
- การศึกษาพิเศษ 
- การศึกษาแบบเรียนร่วม
- การศึกษาแบบเรียนรวม

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ : เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม ภาษาอังกฤษคือ Integrated Education หรือ Mainstreaming : การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน ครูปฐมวัยและครูการศึกษาทางการพิเศษเหมือนกัน

การเรียนร่วมบางเวลา ภาษาอังกฤษคือ Integration : การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา เด็กพิเศษได้มีโอกาศแสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้

การเรียนร่วมเต็มเวลา ภาษาอังกฤษคือ Mainstreaming : เป็นการจัดให้เด็กพิเศษในฌรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน เด็กพิเศษได้รับารจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ มีเป้าหมายเพื่อเด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสดใส ความเอาใจใสเช่นเดียวกันทุกคน

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม ภาษาอังกฤษคือ Inclusive Education : การศึกษาสำหรับทุกคน รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

Wilson 2007 : การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก การสอนที่ดีเป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่หาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้ เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆทาง

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม 
เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน การเรียนรวมเป็นแนวคิดอย่างหนึ่งที่โรงเรียนต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใด เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกัน ทีุ่กคนต่างๆเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน ทุกคนยอมรับว่าทีผู้พิการ อยู่ในสังคมและเข้าเหล่านั้นต่างๆก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกคิ โยไม่มีการแบ่งแยก

ความสำคัญของกรศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย :  ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม 
ครูไม่ควรวินิจฉัย : การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง จากอาการที่แดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก : เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ : พ่อแม่รู้ดีเกี่ยวกับตัวเด็กพ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูย้ำครุพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้ ครูช่วยให้ผู้ปกครองเห็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
ครูทำอะไรได้บ้าง : ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนากรต่างๆ ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย สังเกตเด็กอย่างมีระบบ จดบันทึกพฤติกรรมเด็กป็นช่วงๆ
การสังเกตอย่างมีระบบ ไม่มีใครสามารถสัมเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู ครูเห็นเด็กในสถานการต่างๆช่วงเวลายาวนานกว่าต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู้ที่ปัญหา
การตรวจสอบ : จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไรเป็นทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้นบอกได้ว่าเรื่องใดว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวัง ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้ ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้ พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต : การนับอย่างง่ายๆ การบันทึกต่อเนื่องการบันทึกไม่ต่อเนื่อง 
การนับอย่างง่ายๆ : นับจำนวณครังของการพฤติกรรม กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง : ให้รายละเอียดได้มากเขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหรือช่วงกิจกรรมหนึ่งโดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำหรือช่วยเหลือ


บันทึกไม่ต่อเนื่อง : บันทึกลงบัตเล็กๆเป็นการบันทึกเกี่ยวพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากไป : ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดองความบกพร่อง พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด้กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ : การตัดสินใจครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

...........................................................................




กิจกรรมวาดดอกบัว เป็นการดูรายละเอียดของดอกบัวว่าเรานั้นเก็บรายละเอียดได้ครบหรือไม่
เปรียบเหมือนว่าดอกบัวเป็นเด็กเราจะเก็บรายละเอียดได้มากแค่ไหน เป็นการฝึกการสังเกตของครูผู้สอน

น้องช้อแก้ว น่าร๊ากกก
💝💝💝💝💝💝💝💝💝💝💝💝💝💝💝💝💝💝💝💝💝

การประยุกต์ใช้
ฝึกการสังเกตเด็กให้ละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้น เพราะจะมีประโยชน์กับเรา รู้ถึงบทบาทหน้าที่ของครูที่เรานั้นควรทำ

การประเมิน

ประเมินตนเอง >> ตั้งใจสอบ และเรียนและทำกิจกรรมมีการจดบันทึก
ประเมินเพื่อน >> เพื่อนตั้งใจในการทำข้อสอบและเรียนทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ >> อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีมีกิจกรรมต่างๆมาให้ทำ ให้ความรู้ยกตัวอย่างทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


E  N  D




วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 
วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 08:30 - 12:30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ หรือภาษาอังกฤษคือ Children with Behavioral and Emotional Disorders มีลักษณะ มีความวิตกกังวลขี้กลัว มีภาวะซึมเศร้า มีปัญหาทางสุขภาพและขาดแรงกระตุ้น มีความรู้สึกนึกคิดผิดไปจากปกติต้องการทำร้ายผู้อื่น ควบคุมอารมหรือพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ไม่สามารถอยู่ร่วมกะผู้อื่นได้
  • สาเหตุ คือ ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทาจิตสังคม 
  • ผลกระทบ คือ เด็ก ไม่สามารถเรียนได้เช่นเด็กปกติ รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้ มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน มรความคับข้องในเก็บกด แสดงอาการออกทางรางกาย มีความหวาดกลัว
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมที่รุนแรง คือ เด็กออทิสติก และ
เด็กสมาธิสั้น หรือภาษาอังกฤษคือ Children  with  Attention  Deficit  Hyperactivity  Disorders  ตัวย่อคือ ADHD 
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชมีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
  1. Inattentiveness (สมาธิสั้น) ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวกไม่มีสมาธิ ไม่สามารถ จดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นานเปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบไม่ละเอียด
  2. Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง) ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เหลียวซ้ายแลขวา ยุกยิก แกะโน่นเกานี่ อยู่ไม่สุขปีนป่าย นั่งไม่ติดที่ ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
  3. Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น) ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิดวู่วาม ขาดความยั้งชั่งใจไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ ไม่อยู่ในกติกา ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง พูดโพล่ง ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อนชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
*****เด็กไฮเปอร์กับเด็กสมาธิสั้นต่างกันคือเด็กไฮเปอร์ จะอยู่ไม่สุขอย่าเดียว******

สาเหตุ : มีความผิดปกติของสารเคมีของสารเคมีบางชนิดในสมอง ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธีและการตื่อนตัวอยู่ที่สมองส่วนหน้า พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น : สมาธิสั้นไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปะละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ : อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้าหรือนอน ยังติดขวดนมหรือตุ๊กตาและของใช้ในวัยทารก ดูดนิ้ว กัดเล็บ หงอยเหงาเศร้าซึม กาหนีสังคม เรียกร้องความสนใจ อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว ฝันกลางวัน พูดเพ้อเจ้อ
  • เด็กพิการซ้อน หรือภาษาอังกฤษคือ Children with Multiple Handicaps เด็กจะที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เด็กปัญญหาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 


แสดงบทบาทสมมุติเหตุการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์


กิจกรรมบำบัดในเด็กสมาธิสั้น

😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻

การประยุกใช้

มีความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษมากขึ้น รู้และสามารถนำมาใช้ได้ในอนาคตเมื่อไปสอน หรือไม่ก็นำมาใช้เมือเจอเหตุการณ์จริง

การประเมิน

ประเมินตนเอง  >> ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกในการเรียน
ประเมินเพื่อน >> เพื่อนๆตั้งใจในการเรียนและทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ >> อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี มีการแสดงตัวอย่างโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงบทบาทสมมุติด้วย

E          N          D


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9



บันทึกกาเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันศุกร์ที่ 3 นีมาคม พ.ศ. 2560 เวลา 08:30 -12:30 น. 

ความรู้ที่ได้รับ

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือภาษาอังกฤษคือ Children with Learning Disabilities
เรียกย่อๆ ว่า L.D. ย่อมาจาก Learning Disability เป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญกาเพียงเล็กน้อยทางกาเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
สาเหตุของ LD เป็นความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยง ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้) หรือเกิดจากกรรมพันธุ์  LD มี 3 ด้าน + 1 ดังนี้ 
1. ด้านการอ่าน หรือภาษาอังกฤษคือ Reading Disorder จะมีลักษณะอ่าหนังสือช้าต้องสะกดทีละคำ อ่านออกเสียงไม่ชัดออกเสียงผิดหรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้ เดาคำเวลาอ่าน อ่านข้ามอ่านเพิ่มคำอ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน ผันวรรณยุกต์ไม่ได้ ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน เล่าเรื่องที่อ่านไหม่ได้
2. ด้านการเขียน หรือภาษาอังกฤษคือ Writing Disorder  จะมีลักษณะ เขียนตัวหนังสือผิดสับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เขียนตามการออกเสียง เขียนสลับ ลากเส้นวนๆโดยไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอกขีดวนๆซ้ำๆ เรียงลำดับตัวอักษรผิด เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็ฯตัวๆได้ เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขกลับด้านคล้ายมองจากกระจกเงา เขียนคำตามตัวสะกด จะจับดินสอหรือปากกาแน่นมาก สะกดคำผิดโดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดม่เดียวกันตัวการันต์ เขียนหนัวสือข้าเพราะกลัวสะกดผิด เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากันไม่เว้นไม่เว้นช่องไฟ ลบบ่อยเขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
3. ด้านการคิดคำนวณ หรือภาษาอังกฤษคือ  Mathematic Disorder  จะมีลักษณะไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาที่ทำการบวกหรือลบไม่เข้าใจหลักเลขหน่วย สิบร้อบ แก้โจทย์เลขไม่ได้ ไม่เข้าใจค่าตัวเลขนับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้คำนวณเลขโดยการนับนิ้ว จำสูตรเลขไม่ได้เขียนเลขสลับกันตีโจทย์เลขไม่ออกคำนวณเลขจากซ้ายไปขวา ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
4. หลายๆด้านร่วมกัน  เป็นอาการที่มักเกิดร่วมกับ LD   คือ แยกแยะขนาดสีและรูปร้างไม่ออก มีปัญหาที่เกี่ยวกับเวลา เขียนอ่าตัวอักษรสลับซ้ายขวา งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี การประสานงานของสายตาและกล้ามเนื้อไม่ดี สมาธิไม่ดี (เด็กที่เป็น LD ร้อยละ ๅถข/จ มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย) เขียนตามแบบไม่ค่อยได้ ทำงานช้า การวางแผนจัดระบบงายไม่ดี ฟังคำสับสน คิดแบบนามธรรมหรือแก้ปัญหาไม่ค่อยดี ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน ความจำระยะสั้นยาวไม่ดี ถนัดซ้ายและขวา ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน



 ลักษณะการเขียนของเด็กที่เป็น LD
  • ออทิสติก(Autistic) หรือ ออกทิซึ่ม(Autism) จะเป็นเด็กที่มีลักษณะ อยู่ในโลกของตนเองไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อนไม่ยอมพูดเคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่สามารถเข้าใจคำพูดความรู้สึกและความต้องการของคนอื่น ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบของและสังคม เด็กแต่ละคนจะมีสักษณะแตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ออทิสติกจะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
  • ออทิสติกเทียม เกิดจากปล่อยให้พี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ ปล่อยเด็กอยู่กับไอแพด ดูทีวี

....................................................................

ทักษะของเด็กออทิสติก
ยิ่งออทิสติกมากทักษะด้านการเคลื่อนไหวและรูปทรงขนาดก็จะสูงมากและในขณะเดียวกันทักษะทางภาษาและสังคมก็จะยิ่งต่ำ

....................................................................





เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติกองค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

ถ้าไม่สามารถวินิจฉัยให้เข้าข่ายโรคใดได้ ให้สันนิษฐานว่าเข้าข่ายเป็นออทิสติก



VDO การสอนเด็กออทิสติก

....................................................................................









ตัวเอย่าง
เด็กพิเศษที่มีความพิเศษและมีชื่อเสียง



EX.VDO

😂😂😂😂😂😂😂😂😂😂😂😂😂😂😂😂😂😂

การนำมาประยุกต์ใช้

รู้ถึงลักษณะอาการและวิธีการต่างๆในการับมือกับเด็กพิเศษ น่าจะเอาตัวรอดได้เมื่อเจอไม่ความเข้าใจในลักษณะนิสัยของเด็ก ขั้นเบื้องต้นสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต

การประเมิน

ประเมินตนเอง >> มีความตั้งใจในการเรียนและการร่วมทำกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียน

ประเมินเพื่อน >> เพื่อนให้ความร่วมมือเมื่อมีการแสดงตัวอย่างเป็นอย่างดีทำให้เห็นภาพ

ประเมินอาจารย์ >> อาจารย์เตรียมการสอนและยกตัวอย่างาถานการต่างๆรวมไปถึงตัวอย่างของเด็กพิเศษและวิธีการรับมือให้นักศึกษาเข้าใจอย่าชัดเจน

E N D