วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 
วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 08:30 - 12:30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ หรือภาษาอังกฤษคือ Children with Behavioral and Emotional Disorders มีลักษณะ มีความวิตกกังวลขี้กลัว มีภาวะซึมเศร้า มีปัญหาทางสุขภาพและขาดแรงกระตุ้น มีความรู้สึกนึกคิดผิดไปจากปกติต้องการทำร้ายผู้อื่น ควบคุมอารมหรือพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ไม่สามารถอยู่ร่วมกะผู้อื่นได้
  • สาเหตุ คือ ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทาจิตสังคม 
  • ผลกระทบ คือ เด็ก ไม่สามารถเรียนได้เช่นเด็กปกติ รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้ มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน มรความคับข้องในเก็บกด แสดงอาการออกทางรางกาย มีความหวาดกลัว
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมที่รุนแรง คือ เด็กออทิสติก และ
เด็กสมาธิสั้น หรือภาษาอังกฤษคือ Children  with  Attention  Deficit  Hyperactivity  Disorders  ตัวย่อคือ ADHD 
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชมีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
  1. Inattentiveness (สมาธิสั้น) ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวกไม่มีสมาธิ ไม่สามารถ จดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นานเปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบไม่ละเอียด
  2. Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง) ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เหลียวซ้ายแลขวา ยุกยิก แกะโน่นเกานี่ อยู่ไม่สุขปีนป่าย นั่งไม่ติดที่ ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
  3. Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น) ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิดวู่วาม ขาดความยั้งชั่งใจไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ ไม่อยู่ในกติกา ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง พูดโพล่ง ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อนชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
*****เด็กไฮเปอร์กับเด็กสมาธิสั้นต่างกันคือเด็กไฮเปอร์ จะอยู่ไม่สุขอย่าเดียว******

สาเหตุ : มีความผิดปกติของสารเคมีของสารเคมีบางชนิดในสมอง ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธีและการตื่อนตัวอยู่ที่สมองส่วนหน้า พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น : สมาธิสั้นไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปะละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ : อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้าหรือนอน ยังติดขวดนมหรือตุ๊กตาและของใช้ในวัยทารก ดูดนิ้ว กัดเล็บ หงอยเหงาเศร้าซึม กาหนีสังคม เรียกร้องความสนใจ อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว ฝันกลางวัน พูดเพ้อเจ้อ
  • เด็กพิการซ้อน หรือภาษาอังกฤษคือ Children with Multiple Handicaps เด็กจะที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เด็กปัญญหาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 


แสดงบทบาทสมมุติเหตุการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์


กิจกรรมบำบัดในเด็กสมาธิสั้น

😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻  😻

การประยุกใช้

มีความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษมากขึ้น รู้และสามารถนำมาใช้ได้ในอนาคตเมื่อไปสอน หรือไม่ก็นำมาใช้เมือเจอเหตุการณ์จริง

การประเมิน

ประเมินตนเอง  >> ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกในการเรียน
ประเมินเพื่อน >> เพื่อนๆตั้งใจในการเรียนและทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ >> อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี มีการแสดงตัวอย่างโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงบทบาทสมมุติด้วย

E          N          D


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น